Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: the unique way of making food
Anonymous

Date:
the unique way of making food
Permalink   


Still want to try?


เขมรลุ้นน้ำตาลเมา-ปลาเจ่า-ข้าวพระตะบองตีตรา GI
blank.gif
โดย ผู้จัดการออนไลน์23 ตุลาคม 2551 13:36 น.
blank.gif
551000013550101.JPEG
คนงานกำลังใช้เท้าย่ำลงไปในเข่งบรรจุปลาที่โรยเกลือเพื่อทำปลาเจ่า ภาพถ่ายวันที่ 16 ม.ค.2551 ที่หมู่บ้านจรางจำเรส ริมฝั่งแม่น้ำโตนเลสาป (Tonle Sap) ทางตอนใต้กรุงพนมเปญ (Chrang Chamres) ในฤดูจับปลาที่นี่จะมีกลิ่นเหม็นคละคลุ้ง ในขณะนี้ทางการกำลังพยายามขึ้นทะเบียน "ประฮ๊อก" (Prahok) หรือปลาเจ่าเขมรให้เป็นสินค้าที่ผลิตในแหล่งจำเพาะทางภูมิศาสตร์กับหน่วยงานในฝรั่งเศส (ภาพ: AFP)
blank.gif
       
ผู้จัดการรายวัน -- ทางการกัมพูชากำลังพยายามขึ้นทะเบียนสินค้าหลายชนิดรวมทั้งพริกไทย ข้าวและน้ำตาลที่ผลิตจากต้นตาลเพื่อจดทะเบียนกับหน่วยงานมาตรฐานฝรั่งเศส ให้เป็นสินค้าที่ตั้งชื่อตามท้องถิ่นที่ผลิต หรือ Geopgraphical Indication of Products หรือ GI
       
       ตามรายงานของสำนักข่าวเอเคพี (Agence Kampuchean-Presse) ซึ่งเป็นสำนักข่าวของทางการ หน่วยงานที่รับผิดชอบของกัมพูชากำลังพยายามขึ้นทะเบียน GI ให้กับ ข้าวหอมพระตะบอง (Battambang) พริกไทยกัมโป้ท (Kampot) และ น้ำตากัมปงสะปือ (Kampong Speu)
       
       สินค้าที่เข้าข่ายยังรวมทั้งผ้าไหมบ้านใต้มีชัย (Banteay Meanchey) กับปลาจ่อมเสียมราฐ (Siem Reap) ด้วย
       
       เอเคพี กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐจากกัมพูชา ลาวและเวียดนาม ได้ประชุมหารือร่วมกับองค์การช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาของรัฐบาลฝรั่งเศสหรือ อาแอฟเด (Agence France Developpement) ที่ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนตามแหล่งผลิตทางภูมิศาสตร์ เช่นเดียวกับสุราแช็มเปญ หรือคอนญัก ในประเทศนั้น
       
       ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่จากประเทศไทยมีกำหนดจะไปร่วมการประชุมหารือซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมแคมโบเดียนา (Cambodiana) กรุงพนมเปญ วันพฤหัสบดี (16 ต.ค.) แต่ แล้วก็งดไป
       
       นายเหมาธุรา (Mao Thura) ผู้ช่วยรัฐมนตรี กระทรวงการค้ากล่าวว่า การตดทะเบียนชื่อสินค้าตามแหล่งผลิตทางภูมิศาสตร์จะทำให้สินค้ามีเอกลักษณ์ เกษตรกรที่เป็นเจ้าของสินค้าจะมีลิขสิทธิ์ ป้องกันการปลอมแปลงและจะได้รับการส่งเสริมให้ออกสู่ตลาดโลก และจำหน่ายได้ราคาดี

551000013550102.JPEG
ชาวบ้านที่เสียมราฐกำลังเก็บน้ำตาลก้อนที่ทำจากน้ำหวานจากต้นตาลซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติและได้รับการอนุรักษ์ ปัจจุบันมีต้นตาลราว 2.5 ล้านต้นทั่วประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังหาทางขึ้นทะเบียนน้ำตาลและสุรากระแช่ให้เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นจากแหล่งจำเพาะทางภูมิศาสตร์
blank.gif
       อาแอฟเดกับคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้ให้ความช่วยเหลือกัมพูชา ลาว และเวียดนาม ในการดำเนินโครงการดังกล่าว โดยปีนี้ฝ่ายลาวได้เข้าร่วมเป็นปีแรก
       
       เจ้าหน้าที่เวียดนามได้บอกกับที่ประชุมครั้งนี้ว่า ในเวียดนามมีสินค้าอย่างน้อย 15 รายการที่เตรียมขึ้นทะเบียน GI รวมทั้งน้ำปลาฟุก๊วก (Phu Quoc) ใบชา ส้มดั๊กลัก (Dak Lak) กาแฟบวนมาท๊วด (Buon Ma Thuot)
       
       หลังการประชุมหารือดังกล่าวเจ้าหน้าที่จากฝรั่งเศส เจ้าหน้าที่กัมพูชา ลาวและเวียดนาม ได้เดินทางไปเยี่ยมชมวนพริกไทยใน จ.กัมโป้ท ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพริกไทยคุณภาพดีใหญ่ที่สุดของประเทศ
       
       สินค้าการเกษตรเป็นสินค้าออกสำคัญของกัมพูชา แต่เกือบทุกชนิดรวมทั้งข้าวชนิดต่างจะส่งออกผ่านประเทศไทยหรือเวียดนาม โดยผู้ค้าชาวไทย ชาวเวียดนาม หรืออาจะไปไกลจากสิงคโปร์และมาเลเซีย
       
       รัฐบาลกัมพูชาได้สั่งให้ทั่วประเทศอนุรักษ์ต้นตาลซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติ ทำให้ประเทศนี้สามารถผลิตน้ำตาลรสอร่อยจากต้นตาลได้ปริมาณมหาศาลในแต่ละปี

551000013550103.JPEG
ภาพจาก www.bp2.blogger.com ผลไม้ประจำชาติกำลังจะทำรายได้ให้แก่กัมพูชาปีละ 500 ล้านดอลลาร์ ประเทศนี้ผลิตน้ำตาลได้ปริมาณมหาศาลในแต่ละปีและที่ จ.กัมปงสะปือยังเป็นแหล่งน้ำตาลเมาอันลือชื่อของชาวเขมรอีกด้วย
blank.gif
       รายงานของเอเคพีก่อนหน้านี้ ระบุว่า ในปีใกล้ๆ นี้กัมพูชาจะมีรายได้จากสินค้าที่ผลิตจากต้นตาลกว่า 500 ล้านดอลลาร์ต่อปี
       
       บริษัท คอนฟิเรล (Confirel) ซึ่งเป็นผู้ผลิตผู้ส่งออกและจำหน่ายสินค้าจากต้นตาลรายใหญ่คาดว่า ในปีนี่ รายได้จากสินค้าทุกชนิดมีมูลค่าระหว่าง 101-224 ล้านดอลลาร์
       
       บริษัทนี้ประมาณว่าปัจจุบันมีต้นตาลราว 2.5 ล้านต้นในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ในนั้นมีประมาณ 1 ล้านต้น ที่กำลังถูกใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
       
       ปัจจุบันบริษัทนี้มีพันธะสัญญากับเกษตรกรรราว 300 ราย เพื่อซื้อนำตาลไปผลิตสุราพื้นบ้านหรือ “กระแช่” ซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยมจากตลาดต่างประเทศมากขึ้น.

blank.gif


__________________


Guru

Status: Offline
Posts: 2386
Date:
Permalink   



i saw some kids sell this kind of sugar which comes from Mak tan, i think it's probably the same as cambodian's, this photo was taken at the Konphapheng, the southern Laos near the Cambodia's border.

__________________


animated-graphics247.gif



Page 1 of 1  sorted by
Quick Reply

Please log in to post quick replies.

Tweet this page Post to Digg Post to Del.icio.us


Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard